วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

E-Commerce ช่องทางการตลาดใหม่ ดีหรือไม่ อย่างไร

ช่วงนี้ข่าวคราวเกี่ยวกับ E-Commerce ค่อนข้างจะมีมากในสื่อมวลชนทั่วไป ข่าวคราวของ E-Commerce มีข้อดีคือเป็นตัวกระตุ้น ให้มีการพัฒนาและการขยายตัวของ E-Commerce ในประเทศไทย ซึ่งผมก็ยินดีและอยากเห็นการขยายตัวของ E-Commerce ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน แต่ในอีกมุมหนึ่งผมก็รู้สึกว่าข่าวสารเกี่ยวกับ E-Commerce ที่เผยแพร่อยู่นั้น เป็นการให้มุมมองเพียงด้านเดียว ซึ่งจะทำให้ผู้ที่กระโดดลงมาใช้ E-Commerce เป็นช่องทางการขายสินค้าของตนเพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง ได้กระโดดเข้ามาด้วยความหลง ด้วยการตามแห่ โดยขาดการพิจารณา โดยขาดข้อมูลในอีกหลายๆด้าน ซึ่งผมว่าผมคงคิดไม่ผิดเท่าไหร่ เพราะผมเทียบกับการตีข่าวเรื่อง Y2K ทำให้ผมได้ยินเรื่องคนไปซื้อการ์ดแก้ Y2K ที่พันทิพย์ เพื่อใช้กับเครื่องรุ่นใหม่ที่บ้านซึ่งให้ลูกเล่นเกมส์ (เครื่องนี้ไม่เดือดร้อนจาก Y2K แต่อย่างใด) ซึ่งผมถือว่านี่คือผลของข่าวสารด้านเดียว อันเป็นผลประโยชน์กับธุรกิจบางอย่างเท่านั้น นี่จึงเป็นแรงจูงใจให้ผมเขียนบทความนี้ขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้บริหาร ว่าจะตัดสินใจทำ E-Commerce หรือไม่

การค้าขายผ่านสื่ออิเลกทรอนิกส์หรือ E-Commerce ซึ่งปัจจุบันเรามักจะเหมาว่า E-Commerce คือการค้าขายผ่าน Internet ไปแล้วนั้น เมื่อ Internet มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รวดเร็วมากจนน่าทึ่ง Internet จึงกลายเป็นช่องทางค้าขายที่น่าสนใจ ถ้าท่านมีสินค้าอยู่ไม่ว่าสินค้าของท่านจะเป็นสินค้าที่จับต้องได้ หรือเป็นบริการ ท่านคงต้องมองแล้วว่าท่านจะใช้ E-Commerce ในการเพิ่มยอดขายซึ่งหมายถึงเพิ่มกำไร ให้แก่สินค้าของท่านหรือไม่ สิ่งที่ผมจะเสนอแนวคิดบางส่วน เพื่อประกอบการพิจารณาทำ E-Commerce ประกอบด้วย 1. ลักษณะสินค้าเหมาะกับการทำ E-Commerce หรือไม่ 2. กลุ่มเป้าหมายของสินค้าตรงกับผู้ใช้ Internet หรือไม่ 3. ควรทำ E-Commerce อย่างไรดี 4. วิธีการส่งสินค้าเป็นอย่างไร 5. วิธีการรับชำระเงินเป็นอย่างไร และความเสี่ยงกับหนี้สูญ 6. ต้นทุนในการจัดทำระบบและการดำเนินงานเป็นอย่างไร อ่านต่อ


วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552

"กฎ 23 ข้อ" ทำให้เว็บน่าสนใจ

เป็นกฎง่ายๆ ที่บางครั้งเหมือนเส้นผมบังภูเขา ทำตามได้ไม่ยาก เพื่อให้เว็บไซต์เป็นที่ดึงดูดของผู้ใช้มากที่สุด

กฎ 23 ข้อดังต่อไปนี้ เป็นการวิจัยของ 3 สถาบัน ได้แก่ The Poynter Institute, the Estlow Center for Journalism & New Media, และ Eyetools ภายใต้โครงการ “The Eyetrack III” ซึ่งศึกษาถึงกลยุทธ์การออกแบบเว็บไซต์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ให้มาก ที่สุด

Hosting

1. ตัวอักษรดึงดูดความสนใจได้เร็วกว่าภาพหรือกราฟฟิค
2. จุดแรกที่สายตามองคือ มุมซ้ายบนของหน้าเว็บ
3. ผู้ใช้จะมองไปที่มุมซ้ายบนของเว็บไซต์ ก่อนที่จะเลื่อนสายตาลงมาด้านล่างขวาเรื่อยๆ
4. ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่สนใจมองแบนเนอร์โฆษณา
5. รูปแบบเว็บไซต์และตัวอักษรที่มีสีสันสะดุดตา มักไม่ได้รับความสนใจจากผู้ใช้
6. แสดงข้อมูลเป็นตัวเลข จะดึงดูดสายตามากกว่าเขียนเป็นตัวอักษร
7. ขนาดตัวอักษรมีผลต่อพฤติกรรมการใช้เว็บ โดยตัวอักษรเล็กๆ จะทำให้คนอ่านอย่างละเอียด ขณะที่ตัวอักษรใหญ่ ทำให้คนมองเป็นอันดับแรก
8. คนส่วนใหญ่อ่านพาดหัวรอง ในกรณีที่น่าสนใจจริงๆ
9. คนมักจะอ่านส่วนล่างของหน้าเว็บแบบผ่านๆ
10. ประโยคหรือย่อหน้าสั้นๆ ดึงดูดความสนใจของคนอ่านมากกว่า อ่านต่อ

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

ความสำคัญของการจัดอันดับบนเว็บไซต์หลักของโลก

ในปัจจุบันมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตถึง 600 ล้านคนทั่วโลก และมีเว็บไซต์มากกว่า 50 ล้านเว็บไซต์ ทางด้านธุรกิจเอง ก็มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง การนำเทคโนโลยีมาใช้ จัดเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการเติบโตทางการตลาด และการจัดทำอันดับบนเว็บไซต์ของโลก เป็นช่องทางหนึ่งที่บริษัทต่างๆ ต้องคำนึงถึงโดยเห็นได้จากผลการวิจัยดังต่อไปนี้การหาข้อมูลจากเว็บไซต์ได้ รับความนิยมมากที่สุด เพราะสะดวก และหาข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

เนื่อง จากผู้ที่ต้องการซื้อ หรือทำธุรกิจทางอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ ใช้วิธีค้นหาชื่อสินค้า หรือบริการที่ต้องการ บนอินเตอร์เน็ตของเว็บไซต์ทำการค้นหา และแสดงรายชื่อที่ทำการเชื่อมโยง ไปยังเว็บไซต์ ที่มีชื่อของการบันทึกค้นหานั้นๆ โดยการแสดงรายชื่อจะเรียงลำดับ และเว็บไซต์ที่อยู่ในลำดับ 1 ถึง 20 แรก มีโอกาสถึง 85% ที่ผู้ใช้บริการทางอินเตอร์เน็ต จะทำการเลือกและติดต่อธุรกิจทางอินเตอร์เน็ต


วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ผู้เชี่ยวชาญเร่งศึกษาเด็กกับมือถือ

นักวิจัยควรที่จะศึกษาเกี่ยวกับเด็กและหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการใช้มือถือ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพวกเขาได้

มีผลวิจัยแค่เพียง 2-3 ชิ้นเท่านั้นที่บ่งบอกว่าสัญญาณมือถือนั้นมีผลต่อการเกิดเนื้องอกในสมองได้ แต่ยังมีผลวิจัยอีกมากมายที่บอกว่าเรื่องนี้ไม่มีมูลความจริง ดังนั้นนักวิจัยก็เลยต้องการที่จะศึกษาให้แน่ชัดว่าการใช้มือถือนั้นปลอดภัย ต่อสุขภาพจริงหรือไม่ ซึ่งผลวิจัยส่วนใหญ่นั้นบ่งบอกถึงผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น ยังมีอีกหลายผลวิจัยที่ต้องการศึกษาให้แน่ใจถึงผลระยะยาวของสัญญาณวิทยุ

การวัดระดับของสัญญาณวิทยุของมือถือที่เด็กและหญิงมีครรภ์จะได้รับนั้น สามารถใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กนั้นอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากกว่า เพราะว่าร่างกาย อวัยวะต่างๆ และระบบเนื้อเยื่อกำลังเติบโต รายงานยังบอกอีกว่าเด็กในทุกวันนี้ใช้มือถือมากกว่าผู้ใหญ่เสียอีก ดังนั้นก็จะได้รับสัญญาณมากกว่าอีกด้วย แถมเด็กยังเริ่มใช้มือถือตั้งแต่อายุยังน้อย

นอกจากนี้นักวิจัยควรจะวิเคราะห์สายอากาศแบบต่างๆ ว่าสัญญาณที่จะได้รับนั้นแตกต่างกันอย่างไรบ้าง และส่งผลต่อร่างกายอย่างไร


วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ไวรัสคอมพิวเตอร์อาละวาดกลางอวกาศ

ลอนดอน 28 สค.- องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ นาซา ยืนยันว่า เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่นำขึ้นไปใช้ในสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อเดือน ก.ค. เกิดติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า “Gammima.AG“ สะท้อนให้เห็นว่า แม้จะอยู่กลางอวกาศ แต่ไวรัสคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถเล่นงานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อยู่ดี

ไวรัสคอมพิวเตอร์ “Gammima.AG“ ถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกบนโลก เมื่อเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว มักซ่อนตัวเองอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรอจังหวะ ขโมยชื่อล็อกอินในเกมคอมพิวเตอร์ยอดนิยม ขณะที่นาซ่า ย้ำว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พบไวรัสอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันกลางอวกาศ แต่ครั้งที่ผ่าน ๆ มา ไวรัสคอมพิวเตอร์จะก่อปัญหาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจะต้องตรวจสอบต่อไปว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสถานีอวกาศนานาชาติเกิดติดไวรัสได้อย่างไร อ่านต่อ


วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

จะทำอย่างไร? เมื่อชื่อโดเมนถูกขโมย

เว็บฯ หาย! ชื่อโดเมนถูกขโมย ก็ไม่ต่างอะไรกับบ้านหาย จากมีที่อยู่ก็กลายเป็นไร้ที่อยู่ เท่านั้นยังไม่พอ รายได้หดหาย ลูกค้าเดิมหนีอีกต่างหาก แล้วทีนี้จะตามบ้านคืนจากพวกมิจฉาชีพที่มาแอบขโมยไปได้อย่างไร? จะต้องเสียค่าไถ่ไหม? แล้วจะไปขอให้ใครช่วยทวงบ้านคืนดี?

เว็บไซต์สุดรัก ชื่อโดเมนแสนหวงอยู่ดีๆ ก็ถูกขโมย เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เพิ่งจะเคยเกิดขึ้น หลายๆ คนต้องเจอะเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อนแล้ว บ้างก็ต้องเสียค่าไถ่ให้กับมิจฉาชีพพวกนี้ไปเพื่อจะให้ได้ชื่อโดเมนของตัวเองคืนมา บางรายไม่มีเงินเสียค่าไถ่ก็ต้องตัดใจปล่อยให้ชื่อโดเมนนั้นไปอยู่ในมือโจรไป แล้วไปสร้างใหม่ในภายหลัง ซึ่งก็ต้องใช้เวลาและพลังงานอีกมาก กว่าจะมีคอนเทนต์และคนเข้าชมเท่าของเดิม

แต่เมื่อถึงยุคที่อินเตอร์เน็ตบูมเช่นนี้แล้ว ยุทธวิธีการเรียกของตัวเองคืนก็ย่อมเปลี่ยนไป ไม่ต้องดิ้นรนอยู่คนเดียวอีกต่อไป เพราะมีหลายฝ่ายให้ความสำคัญ และร่วมมือรักษาสิทธิ์ รักษาผลประโยชน์ที่เสียไป เพื่อให้เจ้าทุกข์ได้ของตัวเองคืนมา

เพิ่งจะมีเหตุการณ์สดๆ ร้อนๆ ผ่านไปเมื่อเร็วๆ นี้กับเว็บไซต์ Bcoms.net ถูกขโมยชื่อโดเมนแล้วเรียกกลับคืนมาได้ แม้ว่ารายนี้จะไม่ต้องเสียเงินค่าไถ่เพื่อซื้อเว็บฯ ตัวเองคืนจากโจร แต่ก็ต้องสูญเสียลูกค้าเดิมไปบางส่วน และยังถูกเข้าใจผิดว่ากลายเป็นเว็บไซต์ที่ทำเรื่องอนาจารไป รายได้ที่ต้องสูญเสียไปในช่วงที่ชื่อโดเมนถูกขโมยยังไม่เท่ากับชื่อเสียงที่ต้องพังทลายและต้องใช้เวลากู้คืนมาใหม่

อ่านต่อ

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

กองทัพสหรัฐวิจัยหมวกความคิด เทคโนโลยีโทรจิต

ทหารในอนาคตอาจสื่อสารกันโดยไม่ต้องใช้เสียง ด้วย “หมวกความคิด” (thought helmet) อุปกรณ์ตัวนี้จะจับคลื่นสมองของแต่ละคนและส่งข้อมูลจากสมองออกในรูปคลื่น วิทยุ ซึ่งจะแปลกลับเป็นคำพูดในหูฟังของทหารคนอื่น


กองทัพสหรัฐอเมริกาจ้างนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน และมหาวิทยาแมรีแลนด์เพื่อศึกษาแนวคิดนี้เป็นเวลา 5 ปี ด้วยเงิน 4 ล้านเหรียญสหรัฐ


เรื่องการสื่อสารด้วยคลื่นสมองนี้ มีความคิดว่าจะเป็นจริงได้ตั้งแต่ 10-20 ปีก่อนหน้านี้ แต่เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในขั้นวิจัย ซึ่งตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำงานวิจัยอื่นอย่างเช่น รูปแบบการแสดงผลคอมพิวเตอร์ที่อิงตามสมอง เช่น Emotiv Systems ซึ่งเป็นหมวกจับคลื่นสมองสำหรับวิดีโอเกมส์และคาดว่าจะวางตลาดได้ในปีหน้า


แต่ของทหารนั้นจะต้องดีกว่านี้และใช้งานได้จริงมากกว่าหมวกเล่นเกมส์ เพื่อสร้างหมวกความคิดให้เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับทหาร นักวิทยาศาสตร์จะต้องรวมความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์กับความรู้ด้านสมองเข้า ด้วยกัน อ่านต่อ